อย่างที่เราทราบการกระทำดังกล่าวได้ส่งผลในด้านลบทุกมิติต่อรัฐบาลรัสเซีย ไปจนถึงประชากรผู้ถือพาสปอร์ตรัสเซียทุกคน ประเด็นสำคัญที่จะพูดถึงในบทความนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว นั่นคือ ปัญหาแรงงานที่มีความสามารถแห่ย้ายไปทำงานในต่างแดน ซึ่งต่างแดนที่ว่านี้มีตั้งแต่บริเวณประเทศเพื่อนบ้านอย่างจอร์เจีย, ลัตเวีย และตุรกี รวมถึงแรงงานที่ตั้งเป้าที่จะย้ายไปทำงานในประเทศใหญ่อย่างเยอรมนี และสหราชอาณาจักร ทำไมชาวรัสเซียต้องอพยพไม่ต่างจากผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกรุกรานโดยรัสเซียของชาวยูเครน เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ลองจินตนาการนะครับว่า วันดีคืนดีที่จู่ๆ สกุลเงินรูเบิลก็ตกในสถานะพังทลาย ธนาคารแต่ละแห่งในรัสเซียมีลูกค้ายืนต่อคิวสุดลูกหูลูกตาจนหาปลายแถวไม่เจอ เพราะต้องการเปลี่ยนไปถือเงินดอลลาร์ แต่ก็เจอตอเพราะรัฐบาลตั้งเพดานค่าธรรมเนียมที่สูงปรี๊ด และเข้ามาสกัดการเข้าถึงสกุลเงินต่างประเทศ การโอนเงินระหว่างประเทศไม่สามารถทำได้อีกด้วย ในส่วนนักลงทุนจากต่างแดนที่เข้ามาลงทุนในรัสเซีย ด้วยเหตุผลที่ว่า นักพัฒนา (Developer) ชาวรัสเซีย นับได้ว่าเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ แต่ค่าแรงถูก รวมถึงการมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่ดี ทว่าด้วยเงื่อนไขในตอนนี้ของประเทศรัสเซีย การจะกล่าวว่า รัสเซียเป็นประเทศที่ไม่แน่นอนคงไม่ใช่ครับ เราต้องกล่าวว่า เป็นประเทศที่มีแต่ฝุ่นขมุกขมัว นักลงทุนคงไม่เลือกที่จะเสี่ยงลงทุนในรัสเซียต่อขณะที่ ผู้ทำงานอิสระ (แต่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอยู่บ้าง) เช่น อาชีพสตรีมเมอร์ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มทวิตช์ (Twitch) หรือยูทูบ ก็อยู่ในสถานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะพวกเขาไม่สามารถทำรายได้เหมือนอย่างเคย นั่นเป็นเพราะว่า ทวิตช์เป็นแพลตฟอร์มในเครือของแอมะซอน ซึ่งมีแนวทางคว่ำบาตรอย่างเข้มข้นต่อรัสเซีย ดังนั้นแล้วพวกเขาจึงไม่อาจจ่ายเงินให้กับสตรีมเมอร์จากประเทศที่ถูกคว่ำบาตรได้ รายงานของ eMarketer ระบุว่า แรงงานด้านไอทีที่อพยพไปทำงานที่ประเทศอื่นๆ จนถึงตอนนี้มีจำนวนหลายพันคนอันที่จริงควรกล่าวด้วยว่า …
สงครามรัสเซีย ยูเครน สำนักข่าวซินหัว รายงานว่าที่กรุงเคียฟ, 11 มี.ค. รัฐสภายูเครนเปิดเผยว่าโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ได้ลงนามกฎหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งรัฐสภาอนุมัติเมื่อวันที่ 3 มี.ค. เพื่ออนุญาตการยึดทรัพย์สินที่ครอบครองโดยรัสเซียในประเทศ กฎหมายดังกล่าวกำหนดว่าทรัพย์สินที่ครอบครองโดยรัสเซียหรือพลเมืองรัสเซียสามารถถูกหน่วยงานทางการยูเครนยึดได้โดยปราศจากการชดเชยอนึ่ง รัสเซียเริ่มปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ. โดยคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายจัดการเจรจาสามรอบในเบลารุส และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศยูเครนและรัสเซียได้พบปะกันในตุรกีเพื่อหาทางออกจากวิกฤต แม้การเจรจาจบลงโดยไม่มีความคืบหน้าที่มีนัยสำคัญ ด้านกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย เปิดเผยว่ารัสเซียจะไม่เข้าร่วมสภายุโรป (CoE) อีกต่อไป โดยกระทรวงฯ กล่าวในแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่าประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต (NATO) “กำลังใช้เสียงข้างมากเด็ดขาดของตนในคณะรัฐมนตรีของสภาฯ เพื่อเดินหน้าการทำลายสภาฯ และพื้นที่ที่มีร่วมกันในด้านมนุษยธรรมและกฎหมาย” ในทวีปยุโรป กระทรวงฯ ย้ำว่ารัสเซียจะไม่ทนต่อการกระทำของชาติตะวันตกในการใช้ “ระเบียบที่อิงกับกติกาของพวกตน” และการเหยียบย่ำกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมเสริมว่ารัสเซียจะไม่เข้าร่วมในการเปลี่ยนสภาฯ แห่งนี้ให้เป็น “เวทีอีกแห่งหนึ่งที่ชาติตะวันตกใช้เทศนาถึงความเหนือกว่าของตนหรือใช้อวดเบ่ง”“ปล่อยให้พวกเขาเคียงข้างกันและกันโดยไม่มีรัสเซีย” แถลงการณ์ระบุ อนึ่ง สภายุโรปเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนชั้นนำของยุโรปซึ่งมีประเทศสมาชิก 47 ประเทศ ในจำนวนนี้มีสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ โดยรัสเซียเข้าร่วมสภาฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1996 ในฐานะสมาชิกลำดับที่ 39
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ทางการรัสเซียได้แจ้งกับยูเครนว่าพร้อมที่จะยุติการโจมตีทันที หากยูเครนยอมปฏิบัติตามเงื่อนไข 4 ข้อของรัสเซีย โฆษกรัฐบาลรัสเซีย ดมิทรี เพสคอฟ แถลงในวันจันทร์ว่า เงื่อนไข 4 ข้อที่รัสเซียเสนอเพื่อให้มีการยุติการโจมตี คือ ยูเครนต้องยุติปฏิบัติการทางทหาร, ยูเครนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีความเป็นกลางมากขึ้น, ยูเครนต้องยอมรับว่าแคว้นไครเมียเป็นของรัสเซีย และยูเครนต้องยอมรับสถานะความเป็นรัฐอิสระของเขตปกครองดอเนตสก์และลูฮันสก์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการปรับแก้รัฐธรรมนูญให้มีความเป็นกลางนั้น โฆษกเพสคอฟอธิบายว่า ยูเครนต้องระบุด้วยว่าจะปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือใด ๆ ของชาติตะวันตก โฆษกเพสคอฟ กล่าวกับรอยเตอร์ว่า ยูเครนได้รับทราบเงื่อนไขเหล่านี้แล้ว แต่ยังไม่มีท่าทีใด ๆ ออกมาจากทางรัฐบาลกรุงเคียฟ การเสนอเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นคำแถลงที่แข็งกร้าวที่สุดที่รัสเซียยื่นต่อยูเครนนับตั้งแต่กองทัพรัสเซียบุกโจมตียูเครนเมื่อ 12 วันก่อน การเจรจารอบที่สามยังไม่มีความคืบหน้า ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอพีรายงานว่า การเจรจารอบที่สามระหว่างผู้แทนของยูเครนกับรัสเซียยังไม่ความคืบหน้าเกิดขึ้นมากนัก โดยทางเจ้าหน้าที่ยูเครนระบุว่ามีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในเรื่องการจัดทำ “ระเบียงมนุษยธรรม” เพื่อให้ประชาชนได้อพยพออกจากพื้นที่สงคราม โดยทางผู้แทนการเจรจาของรัสเซียกล่าวว่าวิกฤตด้านมนุษยธรรมในยูเครนรุนแรงยิ่งขึ้นในวันจันทร์ เมื่อกองทัพรัสเซียยังคงระดมโจมตีใส่หลายเมืองในภาคเหนือและภาคใต้ของยูเครน ขณะที่ประชาชนในเมืองเหล่านั้นต่างประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร น้ำ ไฟฟ้า และยารักษาโรค ที่เมืองมารีอูโพลทางภาคใต้ของยูเครนซึ่งมีประชากร 430,000 คน มีรายงานว่าประชากรราวครึ่งหนึ่งกำลังพยายามหาทางหลบหนีออกจากเมือง ท่ามกลางความหวังว่าจะมีการจัดทำระเบียงมนุษยธรรมขึ้นในเร็ววันนี้
โวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน เผยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่ายูเครนตกลงจะจัดการเจรจากับรัสเซีย ณ ชายแดนเบลารุส-ยูเครน ใกล้แม่น้ำปรีเปียต โดยเซเลนสกีบรรลุข้อตกลงดังกล่าวระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์กับอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ประธานาธิบดีเบลารุส เมื่อวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) ทั้งนี้ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย สั่งให้กองกำลังเพื่อการป้องปรามของประเทศอยู่ใน “โหมดการรบแบบพิเศษ” ขณะประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงเมื่อเช้าวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) โดยกล่าวอ้างว่ากลุ่มประเทศตะวันตกคว่ำบาตรเศรษฐกิจรัสเซียอย่างผิดกฎหมายขณะที่ ยูโครโบรอนพรอม (Ukroboronprom) รัฐวิสาหกิจด้านการป้องกันประเทศของยูเครน เปิดเผยว่ากองทัพรัสเซียได้ทำลายแอน-225 มรียา (An-225 Mriya) เครื่องบินลำสำคัญของยูเครน ซึ่งเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยูโครโบรอนพรอมระบุว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกทำลายขณะกองทัพรัสเซียทำการโจมตีสนามบินโฮสโตเมล ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงเคียฟ โดยการซ่อมแซมเครื่องบินลำนี้จะต้องใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายมากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 9.83 หมื่นล้านบาท) อนึ่ง แอน-225 มรียา ถูกออกแบบช่วงทศวรรษ 1980 เป็นเครื่องบินลำตัวยาวและน้ำหนักมากที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา และสามารถบรรทุกสินค้าได้สูงสุด 640 ตัน
ทั้งนี้ กองทัพรัสเซียเปิดเผยว่าในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ก.พ.) ตามเวลาท้องถิ่น ยึดเมืองเมลิโตโปล เมืองใหญ่ทางภาคใต้ของยูเครนได้แล้ว แต่ยังอยู่ท่ามกลางม่านหมอกของสงคราม จึงไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพื้นที่ยูเครนสักเท่าใดที่ยังคงอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลกรุงเคียฟ และสักเท่าใดที่กองทหารรัสเซียยึดครองไปได้แล้ว รวมถึงมีรายงานว่า กองทัพรัสเซียยึด โรงไฟฟ้านิวเคียร์เชอร์โนบิล ได้เช่นกัน นอกจากนี้ กองทัพรัสเซียยังมีแนวโน้มที่จะบุกเข้ายึดกรุงเคียฟที่อยู่ในส่วนใจกลางของประเทศยูเครนในเร็วๆนี้ หากไม่มีการเจรจาระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ โดยกองทัพยูเครนเองก็พยายามต่อสู้อย่างสุดกำลัง แต่เสียเปรียบในเรื่องของกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ด้อยกว่าด้าน วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ยังคงไม่เปิดโต๊ะเจรจา โดยล่าสุดได้ออกมากล่าวหา โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ว่า เป็นก่อการร้ายและเรียกร้องให้กองทัพยูเครนเลิกสนับสนุนผู้นำ ซึ่งสอดคล้องกับการประชุมของปูติน ร่วมกับสภาความมั่นคง ที่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อสงครามยูเครน ส่วน เซเลนสกี ออกมาเรียกร้องขอให้มีการหยุดยิง และเตือนในคำแถลงว่า เมืองใหญ่ๆ จำนวนมากถูกโจมตีหนัก โดยมีรายงานว่าเขายังคงปักหลักอยู่ในกรุงเคียฟ แต่สถานที่อยู่ของเขาเวลานี้ถูกเก็บเป็นความลับ โดยก่อนหน้านี้เขายังคงให้สัมภาษณ์โจมตี ปูติน ทว่าในอีกทางหนึ่งเขาก็เรียกร้องให้มีการตั้งโต๊ะเจรจา