นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งอากาศร้อนและมีพายุส่งผลให้ฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในหลายจังหวัดพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 อาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการดูแลและเฝ้าสังเกตอาการของโรคไข้เลือกออกกับโรคโควิด 19 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กควรดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กเล็กจะป่วยง่าย และเด็กในกลุ่มอายุ ต่ำกว่า 5 ปี ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 หากพบว่าไม่สบาย มีไข้ ปวดเมื่อยร่างกาย ท้องเสียตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ ให้ระวังไข้เลือดออกร่วมด้วยนายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุของโรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนโรค โควิด 19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 (SARS-CoV-2) สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ทางละอองฝอย เสมหะน้ำลาย ผ่านการสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก แต่ในกรณีถ้าเกิดการระบาดพร้อมๆ …
เมื่อวันที่ 11 มี.ค.65 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงอาการของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ในปัจจุบัน ว่า ขณะนี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ราว 50% ไม่มีอาการป่วย ส่วนที่มีอาการจำแนกอาการย่อยได้เป็น ไอและเจ็บคอ 50% อ่อนเพลีย เป็นไข้ 30-40% และถ่ายเหลว 10% ทั้งนี้ อาการของโควิด-19 ใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดแล้ว แต่ช่วงนี้ที่ต้องระวังเพิ่มขึ้นอาจจะเจอโรคไข้เลือดออกได้ ซึ่งจะมีอาการไข้ อ่อนเพลียเหมือนกัน ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือแม้แต่ถ่ายเหลว เบื้องต้นให้ตรวจ ATK ได้ทันที หากเป็นผลลบก็ให้สังเกตอาการตัวเองใน 48 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ไปโรงพยาบาล(รพ.) เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการโรคอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ หากติดแล้วก็ต้องกักตัวเอง เพราะแม้จะไม่มีอาการรุนแรง แต่หากไปพบคนอื่นที่ภูมิต้านทานน้อย มีโรคร่วมก็จะมีความเสี่ยง นพ.สมศักดิ์ เปิดเผยในส่วนของการรองรับผู้ป่วยโควิด แบบผู้ป่วยนอก(OPD) เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ว่า หากเป็น รพ.สังกัดกรมการแพทย์ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น รพ.ราชวิถี …